วันพฤหัสบดีที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2553

เสาวรส

เสาวรส



ชื่อ : เสาวรส, กะทกรก, แพสชั่นฟรุต

ชื่อสามัญ : Granadilla,Purple Granadilla, Passion Fruit

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Passiflora edulis Sims.

วงศ์ : PASSIFLORACEAE

มาทำความรู้จักกับเสาวรสกันนะ



    เสาวรส คุ้นกันในชื่อที่เป็นไทยอย่างยิ่งว่า “กะทกรก” และชื่อฝรั่งว่า แพสชั่นฟรุต เป็นผลไม้ที่รส
อมเปรี้ยวอมหวานผลไม้นี้มีกลิ่นหอมกินแล้วชื่นใจดื่มแล้วปลอดโปร่างสบายเหมือนปรับสมดุลในร่างกายอย่างดี แพสชั่นฟรุตนั้นเป็นปีนป่ายอยู่ตามรั้วบ้านผู้คน แต่ก็ไม่ค่อยมีคนเก็บกิน ค่าที่ดกเหลือเกิน ส่วนมากมักเป็นพันธุ์ลูกสีม่วงที่รสออกหวานอร่อยมากกว่าสีเหลือง สำหรับชาวออสเตรเลียบางคนนิยมเอาแพสชั่นฟรุตมาผ่าครึ่งใช้ช้อนนตักเนื้อในเก็บไว้ในขวดแก้วแล้วแช่ตู้เย็น ตักกินวันละช้อน
    หากรู้สึกว่าขาดวิตามินซี เสาวรส ก็เป็นผลไม้ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยวิตามินดังกล่าว จะกินผลสด หรือดื่มน้ำคั้นจากผลก็ได้ทั้งนั้น เมื่อได้รับมิตามินและเกลือแร่เพียงพอที่ร่างกายต้องการแล้ว ถึงตอนนี้ก็เป็นอายุวัฒนะได้

ถิ่นกำเหนิด




เสาวรสนี้มีกำเนิดมาจากดินแดนบราซิล และแถบอเมริกาใต้ เป็นผลไม้ที่ปลูกกันทั้งใจเขตร้อนและเขตอบอุ่น โดยทั่วไปแพสชั่นฟรุตมีสองชนิด คือชนิดที่ผลสีม่วงและผลสีเหลือง ผลสีม่วงเป็นพันธุ์ที่เติบโตได้ดีในเขตอบอุ่นและบนพื้นที่สูงมากกว่า 1,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลหรือเขตหนาย ส่วนพันธุ์สีเหลืองปลูกได้ทั่วไปทั้งในเขตร้อนและอบอุ่น ว่ากันเรื่องรสชาติ พันธุ์สีม่วงรสชาติออกหวาน และหอมกว่าชนิดสีเหลือง แต่คุณต่าทางอาหารแทบไม่ต่างกัน ในเมืองไทยปลูกได้ทั้งสองชนิด ขึ้นอยู่กับภูมิประเทศและสภาพอากาศ


ลักษณะทั่วไปของสาวรส



เสาวรสหรือแพสชั่นฟรุต (กะทกรก) เป็นไม้เลื้อยเนื้อแข็ง ขนาดเล็ก อายุหลายปี อาจปลูกเป็นไม้ริมรั้วหรือทำค้าง หรือซุ้มให้เลื้อยพันก็ได้ แพสชั่นฟรุตไม่เกี่ยงขอเพียงให้มีที่เลื้อยพัน คราวนี้ก็ผลิดอกออกผลกันได้ทั้งปีไม่มีหยุด


ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเวียนสลับ เป็นพู 3 พู ปลายพูแหลม โคนใบมน ขอบใบเป็นจัก แผ่นใบสีเขียวอ่อน ดอกเป็นดอกเดี่ยวเส้นผ่าศูนย์กลางดอก 6-8 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีขาวหรือสีเขียว กลีบรูปรี มีรยางค์เรียงเป็นวง สีขาวปลายม่วง มีดอกตลอดปี ผลรูปร่างกลมหรือรี ผิวเป็นมัน มีเมล็ดสีดำจำนวนมาก เนื้อหุ้มเมล็ดรสเปรี้ยวอมหวาน มีกลิ่นหอม

จะเลือกปลูกชนิดใดไว้ในบ้านก็แล้วแต่ แต่โดยทั่วไปเสาวรสพันธุ์สีเหลืองมักทนทานต่อโรคและต่อสภาพภูมิอากาศได้ดีกว่า และจากที่เห็นเป็นพืชที่ปลูกอยู่ตามบ้านของชาวออสซี่ จึงน่าจะปลูกในบ้านเราในฐานะของไม้ผลและไม้ประดับสวนได้ด้วย กิ่งพันธุ์ตอนนี้มีแพร่หลายทั่วไปตามตลาดต้นไม้

วงศ์วานเครือญาติของแพสชั่นฟรุตนั้นเป็นไม้ประดับก็หลายชนิด ทั้งเถาศรีมาลาดอกแดง สร้อยไพลินและสร้อยฟ้าดอกม่วง อีกทั้งยังมีกะทกรกไทย ที่เพลินใจขึ้นอยู่ตามที่รกร้างว่างเปล่าและชายป่าเหมือนอายว่ามีดอกสวย ใครอยากชมก็ต้องลงแรงไปดูเอง กะทกรกไทยนั้นผลจะกลมกว่า ดอกเล็กกว่า แม้ผลจะมีรสหวาน แต่ก็ไม่ค่อยมีใครนิยมรับประทาน

ประโยชน์

เสาวรสยังมีคุณค่าทางสมุนไพร คือผลนั้นคนโบราณใช้แก้ปวด บำรุงปอด ใบสดนั้นใช้พอกแก้หิด ดอกใช้ขับเสมหะ แก้ไอ แต่ทั้งต้นสด มีสารพิษคือ สาร cyanogenetic glycoside หากอยู่ ๆ เด็ดเถาต้นสดเข้าปกาเคี้ยวเล่น ก็อาจถึงตายเชียว อย่าทำเป็นเล่นไป คอยให้ออกผลมากินให้ชื่นใจดีกว่า


ปัจจุบันน้ำเสาวรสถูกนำบรรจุกระป๋องและกล่องขาย มีทั้งของโครงการหลวงดอยคำ และของบริษัทเอกชนทั่วไป



     

วันอังคารที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ความเครียดคืออะไร?

เกิดอะไรขึ้นเมื่อคุณเครียด?


ความเครียดคือความรู้สึกว่าคุณต้องรับมือกับอะไรบางอย่างมากกว่าที่เคย

เมื่อเครียด ร่างกายของคุณจะตอบสนองราวกับว่าคุณตกอยู่ในอันตราย มันจะสร้างฮอร์โมนที่ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น หายใจเร็วขึ้น และทำให้คุณระเบิดพลังงานออกมา สิ่งนี้เรียกว่าอาการตอบสนองของความเครียดในลักษณะสู้หรือหนี

ความเครียดบางอย่างเป็นเรื่องปกติและยังมีประโยชน์ ความเครียดสามารถช่วยได้ถ้าคุณจำเป็นต้องทำงานหนักหรือต้องมีปฏิกิริยาอย่างรวดเร็ว ยกตัวอย่างเช่น มันสามารถช่วยให้คุณชนะการแข่งขันหรือทำงานสำคัญได้เสร็จทันเวลา

แต่ถ้าหากความเครียดเกิดขึ้นบ่อยเกินไปหรือเกิดอยู่นานมากเกินไป มันก็สามารถส่งผลเสียได้เช่นกัน มันอาจส่งผลไปสู่การปวดศีรษะ ปั่นป่วนในกระเพาะ ปวดหลัง และรบกวนการนอนหลับ มันยังสามารถทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ทำให้มันต่อสู้กับโรคได้ยากขึ้น ถ้าคุณมีปัญหาเรื่องสุขภาพอยู่ก่อนแล้ว ความเครียดก็อาจทำให้มันแย่เข้าไปอีก มันสามารถทำให้คุณอารมณ์เสีย ตึงเครียด และกดดัน ความสัมพันธ์กับคนอื่นๆ เป็นไปอย่างยากลำบาก คุณอาจปฏิบัติกับคนอื่นไม่ดีนักทั้งที่ทำงานหรือที่โรงเรียน


คุณจะจัดการกับความเครียดอย่างไร?


ข่าวดีก็คือคุณสามารถเรียนรู้วิธีที่จะจัดการกับความเครียดได้ วิธีการจัดการควบคุมความเครียดคือ :

๐ ค้นหาว่าอะไรเป็นสาเหตุทำให้เกิดความเครียดในชีวิตของคุณ

๐ มองหาวิธีที่จะลดระดับความเครียดในชีวิตลงบ้าง

๐ เรียนรู้วิธีการดีๆ ที่จะบรรเทาความเครียดหรือลดผลกระทบที่อันตรายของมัน


วิธีวัดระดับความเครียด

บางครั้งคุณมองเห็นได้อย่างชัดเจนว่าความเครียดเกิดจากอะไร คุณอาจเกิดความเครียดกับความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของชีวิต เช่นการสูญเสียคนรัก การจะแต่งงาน หรือการมีลูก แต่ในบางครั้งก็อาจหาไม่เจอว่าอะไรที่ทำให้คุณเครียด

เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องรู้ให้ได้ว่าอะไรเป็นสาเหตุทำให้คุณเกิดความเครียด คนเรามีความรู้สึกและตอบสนองต่อความเครียดต่างกัน การจดบันทึกความเครียดอาจช่วยคุณได้ หาสมุดบันทึกสักเล่ม และเขียนลงไปเมื่อมีบางอย่างมาทำให้คุณรู้สึกเครียด การเขียนบันทึกนี้อาจช่วยให้คุณพบว่าอะไรเป็นสาเหตุให้คุณเครียดและมันทำให้คุณเครียดมากแค่ไหน แล้วต่อจากนั้นคุณก็จะไปสู่ขั้นของของการลดความเครียดหรือรับมือกับมันได้ดีขึ้น

วันพฤหัสบดีที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2553

Angkor Wat

นคร วัดอังกอร์




ความยิ่งใหญ่อลังการของปราสาท นครวัด นั้น ไม่ได้มาจากเพียงแค่ขนาดอันใหญ่โตมโหฬาร ของตัวปราสาทเท่านั้น แต่ยังรวมถึงประวัติศาสตร์ และตำนานที่ซ่อนตัวภายในด้วย

การเที่ยวนครวัด ควรที่จะมีข้อมูลกันก่อนครับ ว่าภาพแกะสลักแต่ละภาพมีความเป็นมาอย่างไร

มีตำนานไหนที่เกี่ยวข้องบ้าง อย่างเช่น ภาพสลักราหูอมจันทร์ ซึ่งไปเกี่ยวเนื่องกับ ตำนานการกวนเกษียรสมุทร ที่จะทำให้รู้ว่า ทำไมราหูซึ่งร่างกายขาดเป็นสองท่อนแล้วถึงยังไม่ตาย ทำไมถึงได้เคียดแค้น พระอาทิตย์ กับพระจันทร์ จนถึงกับต้องจับกินทุกครั้งที่พบกัน

การเที่ยวปราสาทต่าง ๆ ในนครวัดนั้น จะสนุกสนาน ทำให้เรารู้สึกว่านครวัดนั้นมีคุณค่า่ จากเรื่องราวที่อยู่ภายในเหล่านี้ มากกว่าเป็นแค่กองหินขนาดใหญ่ ซึ่งนำมาซ้อนกัน อย่างที่ี่เทคโนโลยี ปัจจุบันสามารถสร้างให้แล้วเสร็จในเวลาแค่ไม่กี่ปี

ประวัติ :

          นครวัด สร้างขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ในรัชสมัย พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ซึ่งครองราชย์อยู่ในช่วง พ.ศ. 1650-1693 ซึ่งขณะนั้นศาสนาพราหมณ์ นิกายไวษณพนิกาย (นับถือ พระวิษณุเป็นใหญ่) กำลัง รุ่งเรืองอยู่ในอาณาจักรขอม

พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 จึงโปรดให้สร้างนครวัด เพื่อบูชาพระวิษณุ และนอกจากนั้นแล้ว ก็เพื่อให้เป็นที่ เก็บพระศพของพระองค์ เมื่อยามสิ้นพระชนม์แล้วด้วย ดังนั้น นครวัด จึงแตกต่างกับปราสาทอื่นๆ ตรงที่หันหน้าไปทางทิศตะวันตก ซึ่งเป็นทิศของผู้ตาย แทนทิศตะวันออก
ตามธรรมเนียมของขอม จะมีการตั้งพระนามใหม่ ถวายกับกษัตริย์ที่สิ้นพระชนม์แล้ว พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 นั้นมีพระนามหลังสิ้นพระชนม์ว่า "บรมวิษณุ" นครวัด จึงมีอีกชื่อว่า "บรมวิษณุมหาปราสาท"

ในการสร้างปราสาท ต้องใช้หินปริมาตรหลายล้าน ลูกบาศก์เมตร ที่นำมาจากเทือกเขาพนมกุเลน ซึ่งอยู่ห่าง จากนครวัดกว่า 50 กม. โดยใช้ช้างนับพันเชือกในการขนย้าย ใช้แรงงานนับแสนคนในการก่อสร้างตบแต่ง ใช้เวลาสร้างกว่า 30 ปี จนสิ้นรัชสมัยของ พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ก็ยังไม่แล้วเสร็จ แม้จะมีการสร้างต่อในสมัย พระเ้จ้าชัยวรมันที่ 7 และสมัย นักองค์จันทร์ ถึงกระนั้น ก็ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ดี
นครวัดนั้น ไม่ได้เป็นเพียงศาสนสถานเท่านั้น แต่ยังเป็นราชธานีของอาณาจักรขอมด้วย ภายในนครวัด จึงมีพื้นที่กว้างใหญ่มาก มีความยาวถึง 1.5 กม. และกว้าง 1.3 กม. รวมเป็นพื้นที่ประมาณ 1,219 ไร่ (2 ตารางกม.)
นครวัดถูกล้อมรอบด้วยบึงน้ำขนาดใหญ่ มีสะัพานเชื่อมสู่ภายนอก เฉพาะประตูทิศตะวันตก และประตูทิศตะวันออกเท่านั้น
คำว่า "นครวัด" มาจากคำว่า "นอกอร์วัด" ซึ่งคำว่า "นอกอร์" นั้น หมายถึง นคร ในสมัย นักองค์จันทร์ พระองค์ทรงนับถือศาสนาพุทธ เทวาลัยแห่งนี้จึงกลายเป็นวัด ในศาสนาพุทธ กลายเป็นที่มาของคำว่า "วัด" ใน "นอกอร์วัด" นั่นเอง
เมื่อชาวฝรั่งเศสเข้ามาพบนครวัด ได้เรียกชื่อของนครวัดเพี้ยนไปจาก "นอกอร์วัด" เป็น "อังกอร์วัด" และใช้มาว่า อังกอร์วัด มาจนทุกวันนี้

แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจภายใน นครวัด

ภายนอกปราสาท
จุดท่องเที่ยวที่สำคัญภายนอกปราสาทนครวัด ได้แก่

1. สะพานนาคราช


สะพานนาคราช เป็นสะพานที่ประกอบด้วยรูปสลักลอยพญานาคขนาดใหญ่ ขนานไปกับตัวสะพาน สะพานนี้ทอดข้ามสระน้ำขนาดใหญ่หน้าปราสาทนครวัด มุ่งตรงเข้าสู่โคปุระตะวัน2. โคปุระ

**โคปุระหมายถึุง พลับพลาทางเข้าของนครวัด ซึ่งนครวัดนั้น มีโคปุระซึ่งเป็นทางเข้าอยู่ 2 ทิศคือ โคปุระตะวันตก และโคปุระตะวันออก


2.1 โคปุระตะวันตก



โคปุระตะวันตก ซึ่งเป็นโคปุระที่ค่อนข้างสมบูรณ์ ตั้งอยู่ทางด้านหน้าของ นครวัด ด้านหน้าของโคปุระตะวันตก จะมีบาราย(บาราย = สระน้ำ) อยู่ด้วย
โคปุีระตะวันตก มีอยู่ทางเข้าอยู่ 5 ประตู ประตูกลางนั้นไว้สำหรับกษัตริย์เท่านั้น
จุดที่พลาดไม่ได้คือ โคปุระทางฝั่งขวามือ ซึ่งเป็นที่ประดิษฐาน พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร อยู่ ซึ่งชาวพุทธต่างนับถือและเข้ามานมัสการเป็นนิตย์
นอกจากนี้แล้วบริเวณ โคปุระตะวันตก ยังมีรูป อัปสรายิ้มเห็นฟัน ซึ่งมีเพียงรูปเดียวในหมู่อัปสรากว่า 2,000 รูปในปราสาทนครวัด
นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จึงนิยมเดินทางเข้านครวัดทาง โคปุระตะวันตกมากกว่า
รูปที่โคปุระตะวันตก

พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร




2.2 โคปุระตะวันออก




โคปุระตะวันออก มาก มีขนาดย่อมกว่า โคปุระตะวันตก และลักษณะ
จะทรุดโทรมมากกว่า โคปุระตะวันตก อยู่มาก นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ จึงไม่นิยมเข้า-ออก ทางโคปุระตะวันออก ซึ่งกลับกลายเป็นอีกสเน่ห์ของโคปุระตะวันออก ที่นักท่องเที่ยว สามารถเลือกมุมถ่ายรูปได้มากกว่า

3. รูปเงาสะืท้อนน้ำของมหาปราสาทนครวัด



หากใครมาเที่ยวชมนครวัด และยังไม่ได้ถ่ายรูปเงาสะท้อนของมหาปราสาทนครวัด บนสระน้ำขนาดใหญ่หน้าปราสาท ก็ถือได้ว่ายังมาไม่ถึงนครวัด ผิวน้ำทีเ่รียบราวกระจก

จะสะท้อนให้เห็นปรางค์ทั้งห้าของปราสาทนครวัดอย่างชัดเจน


ภายในปราสาท

จุดท่องเที่ยวที่สำคัญภายในปราสาทนครวัด ได้แก่

1. ภาพสลักที่ระเบียงคตชั้นใน


ภาพสลักที่ระเบียงคตชั้นใน ของนครวัดมีความยาวกว่า 600 เมตร

ซึ่งมีภาพสลักสำคัญ ๆ ได้แก่

- ภาพสลักการกวนเกษียรสมุทร

- ภาพสลักการรบที่ทุ่งกุรุเกษตร ซึ่งเป็นการรบระหว่าง ตระกูลเการพ และปาณฑพ จาก มหากาพย์มหาภารตะยุทธ

- ภาพสลักการต่อสู้ระหว่างเทพกับยักษ์ จาก รามายณะ

- ภาพสลักขบวนทัพของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 เมื่อยกทัพไปปราบพวกจาม ซึ่งในนั้นก็จะมีขบวนทัพของ สยามกุก หรือ ประเทศสยาม เข้าร่วมด้วยในฐานะประเทศราช

นอกจากนี้ที่ระเบียงคตชั้นในยังมีภาพสลักในศาสนาฮินดูอีกมากมาย




2. ปรางค์ปราสาท



ตามความเชื่อในศาสนาฮินดู จะสมมติให้ปราสาทเปรียบดังสวรรค์
ปรางค์ประธาน จะเปรียบเสมือนเขาพระสุเมรุ เขาที่สูงที่สุดในสวรรค์ ซึ่งเป็นที่ประทับของเทพสูงสุดคือ พระศิวะ
ส่วนพระปรางค์ ทั้งสี่ที่รายล้อมปรางค์ประธานนั้น ก็เปรียบได้กับของขุนเขา ใหญ่น้อยอันเป็นที่สถิตของเทพต่าง ๆ ตามลำดับชั้น
ภายในปรางค์ปราสาทมีภาพสลักนางอัปสรามากมาย และยังมี พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ประดิษฐานภายในปรางค์ประธานด้วย
บันไดขึ้นสู่ปรางค์ประธานจะชันมาก การขึ้น-ลง โปรดใช้ความระมัดระวัง แนะนำให้ ขึ้น-ลง ด้านหน้า ซึ่งมีราวจับครับ


3. ภาพแกะสลักอัปสรา (นางอัปสร)


อัปสรา หรือ อัปสร ในภาษาไทยนั้นถือกำเนิดจากการกวนเกษียรสมุทร นางอัปสราในศิลปะขอมแบบนครวัด จะมีรูปร่างอ้อนแอ้นอรชร กว่าศิลปะขอมแบบอื่น
และด้วยอารมณ์ขันของช่างขอม ในขณะที่ำทำการแกะสลัก จึงได้แกะอัปสรานางหนึ่ง ให้มีลิ้นสองแฉก ซึ่งมีเพียงหนึ่งเดียว ในจำนวนอัปสรากว่า 2,000 รูปภายในนครวัด และกลายเป็นอีกไฮไลท์สำคัญในนครวัด

** หมายเหตุ การแตะต้องรูปสลักหินใด ๆ โปรตีนจากคราบเหงื่อของเรา จะค่อย ๆ กัดกร่อนทำลายรูปสลักนั้น ๆ

ดังนั้นกรุณาอย่ากระทำตาม คำชักชวนของไกด์นอกลู่นอกทางบางคน ที่ชี้ชวนให้จับหน้าอก หรือว่าส่วนหนึ่งส่วนใดนางอัปสรา ไม่ว่าด้วยเหตุผลใด ๆ ก็ตาม





วันอังคารที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553

Telephone [Lady Gaga]


การลดน้ำหนักแบบธรรมชาติ


1.ไม่กินข้าวมื้อเย็น วิธีนี้เหมาะจะเป็นบันไดขั้นแรกสู่สูตรต่อๆ ไป โดยในมื้อเช้าและกลางวันสามารถกินได้ตามปกติ เฉพาะมื้อเย็นเท่านั้นที่กินอะไรก็ได้ที่ไม่ใช่ข้าว อาจจะหาจานเปล่ามา 1 ใบ ใส่ผักสดให้เต็มจาน แล้วกินกับกับข้าวไทยๆ อาทิ น้ำพริกปลาทู แกงส้ม แกงเลียง ยำ ลาบ งดกับข้าวมันๆ เช่นผัดผักมันๆ ของทอด และแกงกะทิ2.เลือก 1 วันในสัปดาห์สำหรับงดเนื้อสัตว์ ไขมัน ข้าว แล้วกินแต่ผลไม้อย่างเดียวทั้งวัน เช่น มะละกอสุก3.เปลี่ยนจากการกินเนื้อผลไม้มาเป็นการดื่มน้ำผลไม้วันละชนิด ติดต่อกัน 3 วัน4.อดเพื่อสุขภาพ 10 วัน โดยเริ่มจาก 2 วันแรกกินผลไม้ ต่อจากนั้นอีก 7 วันกินผักและผลไม้สดชนิดต่างๆ จนครบ 10 วัน ซึ่งใน 10 วันนี้ถ้าทำอย่างเข้มงวด น้ำหนักจะหายไปประมาณ 3-4 กิโลกรัม5.กินเนื้อกับผัก โลว์-คาร์บ(Low-Carb) คือกินได้ทุกอย่าง โดยไม่แตะคาร์โบไฮเดรตซึ่งรวมทั้งแป้ง ข้าว และผลไม้ให้น้อยที่สุดและกินผักปริมาณ 2 เท่าของเนื้อตามสูตรนี้แม้ว่าการที่ร่างกายไม่ได้รับพลังงานหลักจากคาร์โบไฮเดรตตามปกติ แต่ส่วนหนึ่งของพลังงานสำรองอาจเป็นโปรตีนจากกล้ามเนื้อ การกินเนื้อกับผักนานๆ จึงอาจส่งผลให้คุณผอมแบบกล้ามเนื้อหย่อนคล้อย จึงจำเป็นต้องรักษามวลกล้ามเนื้อไว้ด้วยการออกกำลังกายแบบแอโรบิก ซึ่งจะช่วยเปลี่ยนไขมันเป็นกล้ามเนื้อได้ นอกจากนี้หากบริหารความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อเฉพาะส่วน อย่างการยกเวทไปพร้อมกันด้วย ก็จะช่วยเพิ่มขนาดกล้ามเนื้อให้สวยงามและดูดียิ่งขึ้นด้วยนะคะ
การรู้จักกินและดื่มเพื่อหุ่นสวย

การลดน้ำหนักที่ดีก็คือ การควบคุมอาหารที่จะใส่ปากใส่ท้อง และรวมไปถึงเครื่องดื่มต่างๆให้อยู่ในปริมาณที่พอเหมาะและจะต้องมีประโยชน์ต่อร่างกายอีกด้วย ลองตรวจสอบกันดูสิว่า เรารับประทานอาหารและเครื่องดื่มกันถูกต้องเหมาะสมกันหรือไม่1. งดกินของทอด อาหารจำพวกทอดๆ ได้แก่ ไก่ทอด ลูกชิ้นทอด มันฝรั่งทอด และยังมีอีกหลากหลายเมนูทอดทั้งหลายที่ล้วนอุดมไปด้วยไขมัน ขอให้งดกินเด็ดขาด นอกจากจะจับตัวเป็นชั้นไขมันตามร่างกายแล้วยังก่อให้เกิดไขมันอุดตันในเส้นเลือด เกิดโรคภัยไข้เจ็บตามมาอีกมากมายอย่าลังเลที่จะงดกินของเหล่านี้กันเลย


2. เลิกกินกาแฟกับขนมปังมื้อเช้า มื้อเช้าเป็นมื้อที่สำคัญที่สุด ร่างกายควรจะได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนมีประโยชน์มากกว่ากาแฟหนึ่งแก้วและขนมหนึ่งแผ่นเท่านั้น เปลี่ยนเป็นนมกับซีเรียล โจ๊กสักชาม หรือข้าวกับแกงจืดก็ยังได้ เพราะอาหารมื้อเช้าจะถูกนำไปใช้เป็นพลังในการทำงานระหว่างวันมากกว่ามื้ออื่น

3. กินผักผลไม้ให้ได้ทุกมื้อ ถ้าเป็นเป็นไปได้ควรกินผักและผลไม้สดๆให้ได้ครบทุกมื้อ เพราะผักและผลไม้มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย อุดมไปด้วยสารอาหารและใยอาหารที่ช่วยในการขับถ่าย อายุก็ยืนยาวและไม่มีปัญหาเรื่องน้ำหนักส่วนเกินอีกด้วย

4. ดื่มน้ำผักผลไม้ หากว่าการหาโอกาสกินผักผลไม้สดๆเป็นไปได้ยาก โดยเฉพาะการกินให้ได้ทุกมื้อและในจำนวนปริมาณที่มากๆ วิธีหนึ่งที่เป็นทางแก้ก็คือการดื่มน้ำผักผลไม้แทน โดยหาเครื่องสกัดน้ำผักผลไม้มาสกัดน้ำดื่ม จะได้ประโยชน์มากทีเดียวเพราะร่างกายจะดูดซึมสารอาหารไปใช้ได้เร็วกว่าการรับประทานผักผลไม้สดๆ ถ้าไม่มีเครื่องสกัดน้ำผลไม้ เครื่องปั่นธรรมดาก็พอที่จะทำได้ หั่นเป็นชิ้นเล็กๆใส่น้ำผสมเข้าไป ปั่นแล้วกรองเอาแต่น้ำดื่ม แต่มีข้อยกเว้นว่าต้องไม่เป็นผลไม้ที่มีรสหวานจัด เพราะสามารถทำให้อ้วนได้เหมือนกัน

5. งดดื่มน้ำอัดลมโดยเด็ดขาด น้ำหวานน้ำอัดลมไม่จำเป็นจริงๆก็ขอให้งดดื่มโดยเด็ดขาดเพราะน้ำอีดลมประกอบไปด้วยน้ำตาลเป็นส่วนใหญ่ แล้วน้ำตาลส่วนเกินที่ได้รับจากการดื่มน้ำอัดลมก็จะไปสะสมในร่างกาย ทำให้อ้วนและกลายเป็นโรคเบาหวานในที่สุด

6. ลดปริมาณอาหารแต่ละมื้อ ขอย้ำว่าให้ลดปริมาณอาหารที่รับประทานแต่ละมื้อ เคยกิน 2 จาน ก็ให้เหลือ 1 จาน เคยกินจานโตๆ ก็ลดมาเหลือครึ่งจาน ไม่ใช่ให้อดอาหาร การอดอาหารจะทำให้ร่างกายอ่อนแอขาดภูมิต้านทาน และเมื่อกินมื้อต่อไป ร่างกายจะทำการสะสมเป็นไขมันเพื่อชดเชยมื้อที่อด 7. อย่าปล่อยให้หิวมากเกินไป การปล่อยให้มีความรู้สึกหิวจนท้องไส้กิ่ว บิดไปบิดมา ไม่ว่าจะเป็นเพราะยอมอดเพื่อความผอมหรือไม่ได้อด แต่รู้สึกหิวจริงๆ ละก็ อย่าปล่อยให้รู้สึกหิวจนทรมานอย่างนั้น หาอะไรเป็นของว่างประเภทผลไม้ไม่มีรสหวานก็ได้ กินพอระงับความหิว เพราะถ้าปล่อยให้ตัวเองหิวจัดมากๆ พอถึงเวลากินอาหารแล้วจะกินมากกว่าเดิมเป็น 2-3 เท่าเชียว

8. เคี้ยวอาหารให้ละเอียดอย่างช้าๆ คนที่กินอาหารด้วยความรวดเร็วจนเหมือนว่าไม่ได้เคี้ยวอาหารเลยสักนิด นอกจากจะทำให้กระเพาะทำงานหนักในการย่อยอาหารแล้ว ยังทำให้ท้องอืดและกินอาหารได้มากกว่าปกติ เพราะยิ่งกินเร็วก็เหมือนว่ากินได้น้อยและไม่อิ่มเสียที กว่าจะรู้สึกอิ่มก็แน่นท้องเสียแล้ว โดยปกติเราจะรับรู้ว่าอิ่มก็ใช้เวลาประมาณ 20 นาที กว่ากระเพาะจะส่งสัญญาณให้รับรู้ว่าอิ่ม คนที่กินเร็วๆ จึงมีโอกาสกินมากเกินความต้องการของร่างกาย

9. ดื่มน้ำก่อนกินอาหาร ดื่มน้ำสัก 2 แก้วก่อนรับประทานอาหารไม่เกิน 30 นาที เพราะเมื่อมีน้ำอยู่ในกระเพาะ จะช่วยทำให้รู้สึกอิ่มเร็วขึ้น แม้ว่าอยากกินก็กินต่อไม่ไหว

10. เลี่ยงการกินไขมันแต่ไม่ใช่งดกิน ไขมันมีทั้งประเภทไขมันแบบดีเป็นประโยชน์แก่ร่างกาย และแบบไม่ดีไม่เป็นประโยชน์แก่ร่างกาย เราจึงไม่ควรจะงดกินไขมันไปเสียทุกประเภท อะไรบ้างที่เป็นไขมันแบบดี ก็คือไขมันที่ได้จากปลา จากพืช เพราะไขมันเหล่านี้เป็นไขมันไม่อิ่มตัว จะไปช่วยลดการสะสมของไขมันที่จะไปอุดตันเส้นเลือด แล้วเจ้าไขมันแบบที่ไม่ดีล่ะ ก็คือ ไขมันจากสัตว์ กินเข้าไปมากๆ ก็จะสะสมก่อให้เกิดไขมันอุดตันในเส้นเลือด ดังนั้นจึงควรเน้นกินไขมันประเภทไขมันแบบดีมีประโยชน์ให้มาก

11. กินมังสวิรัติ ถ้าเป็นไปได้ลองกินอาการมังสวิรัติเป็นประจำก็จะดีมีประโยชน์ เพราะเมนูอาหารจะเป็นผักเสียส่วนใหญ่ แต่ก็ต้องระวังอย่ากินแป้งมากเกินไป เลี่ยงอาหารจำพวกผัดๆ ทอดๆ ที่มันมากเกินแล้วก็อย่าลืมกินโปรตีนจากถั่วแทนเนื้อสัตว์ด้วยละ12. ดื่มนมพร่องมันเนย หากว่าดื่มนมเป็นประจำก็สามารถดื่มได้ แต่ให้เลี่ยงเป็นนมพร่องมันเนยแทน จะได้ไม่อ้วน เพราะร่างกายของเราเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว ไขมันจากนมจึงไม่จำเป็นมากนัก

วันอาทิตย์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2553

เทศกาล Easter

เทศกาลอีสเตอร์ (Easter)


หมายถึง การระลึกถึงการเป็นขึ้นมาจากความตายของพระเยซูคริสต์ หรือวันคืนพระชนม์ เข้าใจว่าอีสเตอร์มาจากคำภาษาอังกฤษโบราณ คือคำว่า Eastre ซึ่งเป็นชื่อเทพธิดาของฤดูใบไม้ผลิ ผู้รู้บางท่าน กล่าวว่าอาจมาจากภาษาเยอรมันโบราณ คือ คำว่า Eostarun ซึ่งแปลว่ารุ่งอรุณ

ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าใครเป็นผู้นำเอาชื่อเทพธิดาฤดูใบไม้ผลิต Eastre หรือคำว่ารุ่งอรุณ Eostarun ของภาษาเยอรมันมาดัดแปลงเป็นภาษาอังกฤษว่า Easter เพื่อใช้เรียกวันคืนพระชนม์ของพระเยซูคริสต์
นักวิชาการบางท่านได้ให้ข้อคิดว่า การฟื้นคืนพระชนม์ของพระเยซู เกี่ยวข้องใกล้ชิดกับฤดูใบไม้ผลิตอย่างน้อย 2 ประการ

ประการ แรก วันอีสเตอร์อยู่ในช่วงเกี่ยวกับฤดูใบไม้ผลิต คือระหว่างเดือนมีนา และเมษายน

ประการที่สอง ฤดูใบไม้ผลิตเป็นสัญญาลักษณ์ของชีวิตใหม่ เพราะระหว่างฤดูหนาวที่หิมะตก หรืออากาศหนาวเย็น ต้นไม้ส่วนใหญ่จะไม่มีใบ มีลักษณะเหมือนตายไปแล้ว แต่เมื่อฤดูใบไม้ผลิตมาถึง ต้นไม้ที่ดูเหมือนตายไปแล้วก็ผลิใบ จึงอาจเป็นสาเหตุที่ใช้คำว่า Easter สำหรับวันฟื้นคืนพระชนม์

สัญญาลักษณ์ของวันอีสเตอร์ มักได้แก่ สิ่งที่สื่อความหมายถึงความสุข สมหวัง ชัยชนะ ความอบอุ่นความสดใส ภาพที่ปรากฎบนการ์ดอวยพรในเทศกาลนี้ จึงเป็นภาพ

สวนดอกไม้ - ซึ่งสื่อความหมายถึง ความสุขสมหวัง

ผีเสื้อ - สื่อความหมายถึงชีวิตใหม่ เหมือนตัวดักแด้ที่ออกมาจากเปลือหุ้ม และโบยบินขึนสู่ท้องฟ้าอย่างอิสรเสรี คล้ายกับองค์พระเยซูคริสต์ที่สิ้นพระชนม์ และถูกเก็บไว้ในอุโมงค์ หลังจากนั้น 3 วัน จึงฟื้นคืนพระชนม์

กระต่าย - สื่อความหมายถึงความอุดมสมบูรณ์

ไข่ - สื่อความหมายถึงความมีชีวิต

คำอวยพรในการ์ดสำหรับเทศกาลอีสเตอร์ สำหรับคริสตชน จะอวยพรกันในประโยคที่ว่า "ขอให้พระพรแห่งการฟื้นคืนพระชนม์เป็นของคุณ"

ของที่ระลึกสำหรับเทศกาลนี้ นิยมมอบช็อกโคเล็ดรูปไข่ หรือ ตุ๊กตาช็อคโกเล็ครูปกระต่าย ,ไข่ต้มย้อมสี หรือวัสดุรูปไข่ที่ประดิษฐ์ด้วยงานศิลป

สำหรับในปี 2005 นี้เทศกาลอีสเตอร์ตรงกับวันที่ 25-26-27 มีนาคม คริสตจักรต่าง ๆ จะเริ่มต้นเทศกาลนี้ด้วยการนมัสการพระเจ้าในค่ำคืนวันที่ 25 มีนาคม เพื่อระลึกถึงวันที่พระเยซูคริสต์ทรงสละชีวิตของพระองค์บนไม้กางเขนเพื่อความผิดบาปของเรา ซึ่งเราเรียกวันนี้ว่า วันศุกร์ประเสริฐ หรือ Good Friday


ส่วนที่วันที่ 27 มีนาคม บางคริสตจักรมีการเฉลิมฉลองวันอีสเตอร์หรือวันฟื้นคืนพระชนม์ของพระเยซูคริสต์ ด้วยการนมัสการพระเจ้าตั้งแต่เวลา 06.00 น. บางคริสตจักรก็จัดเฉลิมฉลองวันอีสเตอร์ในช่วงเวลานมัสการปกติ

ประเพณีซ่อนไข่ จัดขึ้นเพื่อความสนุกสนาน โดยนำไข่ที่จัดเตรียมไว้ซึ่งมักจะเป็นไข่ต้มที่ย้อมสีต่างๆ อย่างสวยงาม อาจจะวาดเป็นลวดลาย หรือประดิษฐ์เป็นงานศิลปแบบต่าง ๆ นำไปซ่อนไว้ตามบริเวณต่างๆ ของคริสตจักร และให้สมาชิกของคริสตจักรหาไข่เหล่านั้น บางคริสตจักรอาจจะมีรางวัลสำหรับผู้ที่หาไข่ได้มากอีกด้วย



 

แม่ชี เทเรซา

แม่ชีเทเรซา

(26 สิงหาคม พ.ศ. 2453 – 5 กันยายน พ.ศ. 2540) เป็นแม่ชีในศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะผู้นำและผู้ต่อสู้เพื่อคนยากไร้ทั้งในประเทศที่ยากจนและร่ำรวย จนเมื่อปี พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) ท่านจึงได้รับเกียรติให้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ และหลังจากที่ท่านถึงแก่กรรม สำนักวาติกัน โดย สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอล ที่ 2 ได้ประกาศให้ท่านเป็น "นักบุญราศี" ซึ่งเป็นขั้นเริ่มต้นของการเป็นนักบุญ ผ่านพิธีบุญราศีในนามว่า "นักบุญราศีเทเรซาแห่งกัลกัตตา"

ประวัติ  
       เเม่ชีเทเรซา เป็นธิดาของนายนิโคล บอญักซุย (NiKolle Bojaxhui) กับนาง ดรานา เบอร์ไน (Drana Bernai) จากเชื้อสายชาวอิตาเลียน เป็นครอบครัวชนชั้นกลาง คุณแม่เทเรซาเกิดวันที่ 26 สิงหาคม 1910 ได้รับพิธีรับศีลล้างบาป (Baptized) ณ วัดดวงพระหฤทัยศักดิ์สิทธิ์ของพระเยซูเจ้า ที่เมือง สคอปเจ (Skopje) เมืองหลวงของสาธารณรัฐอัลบาเนียนแห่งมาเซโดเนีย ในวันที่ 27 สิงหาคม 1910 และได้รับนามว่า กอนซา (Gonxha) หรือ อักแนส (Agnes) อักแนสเป็นลูกคนที่สามและคนสุดท้อง มีพี่สาวคนโตชื่ออาก้า (Aga) พี่ชายชื่อ ลาซาร์ (Lazar)

       เธอมีชื่อเดิมว่า "แอ็กเนส กอนจา โบยาจู" (Agnes Gonxha Bojaxhiu) มีบิดาเป็นชาวคริสต์ที่เคร่งครัดในหลักศาสนา ซึ่งทำให้ตั้งแต่วัยเด็กแอ็กเนสชอบไปโบสถ์ฟังหลวงพ่อเทศน์มาโดยตลอด เเละขณะแอ็กเนสมีอายุ 9 ปี ในปี พ.ศ. 2462 (ค.ศ. 1919) บิดาของเธอได้เสียชีวิตลง แต่ความอบอุ่นภายในครอบครัวที่แอ็กเนสได้รับก็ไม่ได้ลดลง ด้วยเพราะมารดายังให้ความรักความอบอุ่นและการเลี้ยงดูที่ดีมาตลอด แอ็กเนสเติบโตขึ้นเป็นเด็กร่าเริง และมีสุขภาพดี และไม่นานต่อมาเธอก็ได้รู้จักกับประเทศอินเดีย แต่ก็ได้รู้ว่าอินเดียในขณะนั้นมีระบบสาธารณูปโภคที่ยังล้าหลังอยู่มาก มีคนยากไร้มากมายในประเทศที่ต้องทนทรมาน และเริ่มสงสัยว่า จะมีวิธีใดบ้างไหมที่เธอจะได้ช่วยเหลือผู้ทุกข์ยากในอินเดีย ซึ่งในช่วงเวลานี้นี่เองที่แอ็กเนสเริ่มมีความคิดที่จะบวชเป็นแม่ชี

              ความสนใจของอักแนสในดินแดนธรรมทูต ได้รับการยืนยันจากเสียงเรียกชัดเจนให้เข้าสู่ชีวิตนักบวช ในขณะที่เธอกำลังสวดภาวนาอยู่หน้าพระแท่นรูปพระแม่มารีย์องค์อุปถัมภ์แห่งสคอปเจ (Patroness of Skopje) "พระแม่สวดภาวนาเพื่อดิฉัน และช่วยดิฉันให้ค้นพบ พระกระแสเรียกของตนเอง" ด้วยคำแนะนำและความช่วยเหลือของพระสงฆ์คณะเยสุอิต ชาวยูโกสลาเวียผู้หนึ่ง เธอจึงได้ขอสมัครเข้าคณะซิสเตอร์แม่พระแห่งลอเร็ตโต (ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่าซิสเตอร์ไอริช) เธอถูกดึงดูดจากการทำงานธรรมทูตของซิสเตอร์เหล่านี้ในประเทศอินเดีย
                 พ.ศ. 2471 (ค.ศ. 1928) แอ็กเนสตัดสินใจขออนุญาตครอบครัวเพื่อขอบวชเป็นแม่ชี ตอนแรกครอบครัวคัดค้าน แต่ต่อมาไม่กี่วันทางครอบครัวก็ยอมให้เธอบวช แอ็กเนสเดินทางไปบวชที่สำนักชีโลเรโต (Sisters of Loreto) ในกรุงดับลิน ประเทศไอร์แลนด์ ซึ่งการลาจากจากครอบครัวของเธอในครั้งนี้จะเป็นครั้งสุดท้ายที่เธอจะได้เห็นหน้าของแม่และน้องสาว [4] แอ็กเนสตั้งใจศึกษาเล่าเรียนวิชาที่แม่ชีพึงได้เรียนเป็นเวลา 1 เดือน หลังจากนั้นจึงเดินทางไปยังประเทศอินเดียในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน และได้เริ่มออกเผนแผ่คำสอนในเมืองทาร์จีลิง รัฐสิขิม ทางเหนือของประเทศอินเดีย โดยเธอได้พักอยู่ที่สำนักชีโลเรโตที่ตั้งอยู่ที่เมืองทาร์จีลิง

        พ.ศ. 2474 (ค.ศ. 1931) แอ็กเนสตัดสินใจเข้าสาบานตนเป็นแม่ชีในสำนักชีโลเรโต ในเมืองดาร์ลีจิงเป็นครั้งแรก และตอนนี้เองที่แอ็กเนสได้รับสมญาทางศาสนา(ชื่อทางศาสนา) ว่า แม่ชีเทเรซา และได้สาบานตนครั้งสุดท้ายใน พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1937)

        หลังจากสาบานตนเป็นแม่ชีครั้งสุดท้ายแล้ว แม่ชีเทเรซาได้เข้าเป็นครูวิชาภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ในโรงเรียนสตรีเซนต์มาเรีย ในเมืองเอนทาลี นครกัลกัตตา ไม่นาน ก็ได้เป็นครูใหญ่ของโรงเรียนสตรีเซนต์มาเรีย พาตนเองและเหล่านักเรียนผ่านเหตุการณ์เลวร้าย ที่เกิดจากผลกระทบของเหตุการณ์รุนแรงและสงครามที่เกิดขึ้นต่อเนื่องในอินเดียมาได้ด้วยดี


       หลังจากเป็นนวกเณรีได้ 2 ปี อักแนสก็ปฏิญาณตัวครั้งแรก (First vows) เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 1931 เป็นซิสเตอร์ในคณะซิสเตอร์พระแม่แห่งลอเร็ตโต และเปลี่ยนชื่อจาก อักแนส เป็น เทเรซาแห่งลิซิเออ หลังจากเป็นนวกเณรีได้ 2 ปี อักแนสก็ปฏิญาณตัวครั้งแรก (First vows) เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 1931 เป็นซิสเตอร์ในคณะซิสเตอร์พระแม่แห่งลอเร็ตโต และเปลี่ยนชื่อจาก อักแนส เป็น เทเรซาแห่งลิซิเออ
 ภารกิจการกุศล




 

     คุณแม่เทเรซาออกจากกัลกัตตา เพื่อไปรับการอบรมหลักสูตรเร่งรัดเรื่องการพยาบาลพื้นฐานเป็นเวลา 3 เดือน จากนั้นก็ลงมือปฏิบัติสิ่งที่เธอปรารถนาคือ อุทิศตนรับใช้คน ยากจนที่สุดในบรรดาคนยากจนทั้งหลาย ตามชุมชนแออัดในเมืองกัลกัตตา ในปีนั้นเองที่เธอยื่นขอและได้รับสิทธิเป็นพลเมืองอินเดีย ซึ่งเธอจะคงไว้จนตลอดชีวิตของเธอ พระสันตะปาปา เปาโลที่ 6 (Pope Paolo VI) ทรงมอบสิทธิเป็นพลเมืองวาติกันให้คุณแม่เทเรซาด้วยในช่วงปลายปี ค.ศ.1970 เพื่อช่วยให้การเดินทางทำงานธรรมทูตของคุณแม่สะดวกขึ้น

            วันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) ขณะที่แม่ชีเทเรซากำลังนั่งรถไฟกลับไปยังสำนักชีที่ทาร์จีลิง ระหว่างทางเธอก็ได้ยินพระวจนะของพระเจ้า ซึ่งเนื้อหาที่พระเจ้าพูดกับแม่ชีเทเรซาในขณะนั้น ทำให้แม่ชีเทเรซาตัดสินใจขออนุญาตไปทำงานในสลัม เพื่อช่วยเหลือคนยากจน แต่การทำแบบนั้นถ้าหากทำโดยไม่ได้รับการอนุญาตเป็นพิเศษจะถือว่ามีความผิดทางศาสนา แม่ชีเทเรซาจึงขอให้บาทหลวงใหญ่ (หัวหน้าบาทหลวง ในชุมชนหนึ่งๆ ซึ่งอาจอยู่ตั้งแต่ระดับเมือง ภูมิภาค หรือประเทศ จะมีเพียงหนึ่งท่าน) ขอร้องไปยังพระสันตะปาปา ให้อนุญาตแม่ชีเทเรซาเป็นกรณีพิเศษ

         ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) แม่ชีเทเรซาได้รับอนุญาตเป็นพิเศษให้ไปทำงานในสลัมได้ แต่ก่อนนั้นต้องให้มีความรู้เพียงพอเสียก่อน ซึ่งเธอก็ได้เดินทางไปศึกษาวิชาพยายาลที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในเมืองปัตนา รัฐพิหาร เมื่อศึกษาจบแม่ชีเทเรซาก็ได้ก่อตั้งโรงเรียนกลางแจ้งในสลัม มีเด็กๆ ให้ความสนใจมาเรียนกันมามากมาย หลังจากนั้นไม่นานก็เริ่มมีศิษย์เก่าจากโรงเรียนสตรีเซนต์มาเรียมาขอบวชเป็นผู้ช่วยแม่ชีเทเรซา โดยคนแรกที่มาขอบวช คือ "สวาชินี ดาส" เมื่อบวชแล้วได้รับสมญาทางศาสนาว่า "แม่ชีแอ็กเนส" และไม่นานก็มีศิษย์เก่ามาบวชเพิ่มอีกถึง 10 คน

วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2493 (ค.ศ. 1950) บาทหลวงใหญ่ได้ตั้งกลุ่มของแม่ชีเทเรซาให้เป็นองค์กรอิสระทางศาสนา มีชื่อว่า "คณะมิชชันนารีแห่งความรักของพระเจ้า" (Missionaries of Charity) โดยแม่ชีเทเรซาได้เป็นหัวหน้าองค์กร ซึ่งนับตั้งแต่นั้นมาผู้คนส่วนใหญ่มักเรียกแม่ชีเทเรซาว่า คุณแม่เทเรซา

วันหนึ่งแม่ชีเทเรซาได้คิดที่จะสร้างบ้านหลังหนึ่ง เพื่อให้ผู้หิวโหยที่นอนรอความตายอยู่ข้างถนนนั้นได้มานอนตายอย่างสงบ และด้วยเหตุนี้ท่านจึงขอยืมให้วัดกาลีของศาสนาฮินดูใช้เป็น "บ้านของผู้รอความตาย" (Home for the Dying) โดยเริ่มเปิดใช้ในปี พ.ศ. 2495 (ค.ศ. 1952) แต่ชาวฮินดูพอสมควรที่ไม่เห็นด้วยกับการที่คุณแม่เทเรซาซึ่งเป็นชาวคริสต์ จะมาใช้วัดของชาวฮินดูเป็นสถานที่ แต่เมื่อผู้บัญชาการตำรวจเข้าไปคุยกับคุณแม่เทเรซา ก็ได้ผลสรุปว่าคุณแม่เทเรซายังใช้สถานที่วัดกาลีอยู่ได้ต่อ

พ.ศ. 2498 (ค.ศ. 1955) มีผู้ใจบุญบริจาคบ้านให้แก่คณะมิชชันนารีแห่งความรักของพระเจ้า เพื่อให้ทางคณะฯ ได้ใช้งานบ้านให้เป็นประโยชน์ต่อคุณแม่เทเรซาและส่วนรวม คุณแม่เทเรซาได้ตัดสินใจใช้บ้านหลังนี้ในการรับเลี้ยงเด็กกำพร้า ตั้งชื่อว่า "บ้านเด็กใจบุญ" (Children's Home of the Immaculate Heart) [5]

พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) คุณแม่เทเรซาเริ่มใช้รถพยาบาลเคลื่อนที่ออกรักษาผู้ป่วยที่เป็นชาวไร่ชาวนา โดยโรคที่ชาวไร่ชาวนาป่วยมากที่สุดคือ โรคเรื้อน แต่ในช่วงนั้นสังคมอินเดียยังมองเห็นผู้ป่วยโรคเรื้อนเป็นสิ่งน่ารังเกียจ ผู้ป่วยโรคเรื้อนจึงคิดว่าคนเองไม่มีค่า คุณแม่เทเรซาจึงเริ่มคิดถึงปัญหานี้

พ.ศ. 2508 (ค.ศ. 1965) ที่ทำการของแม่ชีเทเรซาที่อยู่นอกประเทศอินเดียเริ่มเปิดทำการ มีทั้งในยุโรป อเมริกา ออสเตรเลียไม่กี่ปีต่อมา ผู้ว่าการรัฐเบงกอลตะวันตกได้ให้คุณแม่เทเรซายืมใช้แปลงที่ดินที่เมืองอาซันซอลขนาด 140,000 ตารางเมตร (ประมาณ 87.5 ไร่) เพื่อให้ใช้เป็นสถานสงเคราะห์ผู้ป่วยโรคเรื้อน คุณแม่เทเรซาได้แบ่งสรรที่ดินไว้อย่างลงตัว แต่ไม่มีเงินจะสร้างสิ่งปลูกสร้างที่ได้ออกแบบไว้ คุณแม่เทเรซานั่งครุ่นคิดอยู่สักพักก็นึกขึ้นได้ว่าพระสันตะปาปาเคยมอบรถยนต์เปิดประทุนสีขาวบริสุทธิ์ชั้นดี ถ้าขายเฉยๆ จะได้ราคา 100,000 รูปี (ประมาณ 400,000 บาท) แต่นั่นยังไม่เพียงพอ คุณแม่เทเรซาตัดสินใจทำสลาก โดยเอารถคันนั้นเป็นรางวัล ทำสลาก 5,000 ใบ ขายสลากใบละ 100 รูปี (ประมาณ 400 บาท) ใครถูกรางวัลจะได้รับรถพระสันตะปาปาไป การขายสลากแบบนี้ คณะมิชชันนารีของคุณแม่เทเรซา ได้รับเงินถึง 500,000 รูปี (ประมาณ 2,000,000 บาท) ในที่สุดคณะมิชชันนารีของคุณแม่เทเรซาก็ได้สร้างที่ดินขนาดกว่า 80 ไร่ ให้เป็นหมู่บ้านในฝันของผู้ป่วยโรคเรื้อนได้สำเร็จใน พ.ศ. 2511 (ค.ศ. 1968) ตั้งชื่อว่า "หมู่บ้านสันติสุข" มีทั้งโรงพยาบาลและที่อยู่ทั้งสำหรับเหล่าแม่ชีและเหล่าผู้ป่วย มีผู้ป่วยโรคเรื้อนขอเข้ารับการรักษาที่หมู่บ้านสันติสุขนี้มากกว่า 15,000 คน

ไม่นานหลังจากนั้น แม่ชีเทเรซา ก็เปิดที่ทำการอีกแห่งหนึ่ง คราวนี้เป็นการนำกาบมะพร้าวมีรีไซเคิล โดยนำใยมะพร้าวด้านในมาผลิตเป็นสินค้า ตั้งแต่แปรงขัดหม้อ จนถึงพรมนุ่มๆ สินค้าบางชิ้นมีคุณภาพดี ก็สามารถนำไปขายในเมืองไดhไม่นานต่อมา คุณแม่เทเรซาเมื่อรู้ว่า สายการบินต่างๆ จะจัดการอาหารที่ผู้โดยสารกินเหลือโดยการทิ้งทั้งหมด จึงไปขอให้บริษัทสายการบินแอร์อินเดีย มอบอาหารที่ผู้โดยสารกินเหลือมาเป็นอาหารแก่เด็กๆ ใน บ้านเด็กใจบุญ

พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) คุณแม่เทเรซาได้รับเกียรติให้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ ในฐานะ "สำหรับการอาสาต่อสู้เพื่อลดความยากจนทุกข์ยากซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการนำไปสู่ความสงบสุขและสันติ" (for work undertaken in the struggle to overcome poverty and distress, which also constitute a threat to peace.) นอกจากนี้ คุณแม่เทเรซาปฏิเสธงานเลี้ยงฉลองที่ท่านได้รับรางวัลโนเบล และขอใหผู้ที่ทำเค้กฉลองมาแล้ว นำเค้กไปมอบให้คนยากคนจน

คุณแม่เดินทางไปเยือนประเทศญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) ซึ่งก็ได้ตระเวนปราศรัยไปตามที่ต่างๆ ในประเทศ เนื้อหาส่วนใหญ่คือ ความเหลื่อมล้ำในสังคม การรังเกียจคนจรจัด การกลั่นแกล้งประทุษร้ายกันในญี่ปุ่นพ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) อิสราเอลมีสงครามกับองค์กรปลดปล่อยปาเลสไตน์ จนเกิดการสู้รบรุนแรงในแถบเอเชียตะวันตก คุณแม่เทเรซาก็เดินทางเข้าไปเพื่อช่วยเหลือเด็กๆ ที่ติดค้างในสถานที่ต่างๆ มาได้ 37 คน

บั้นปลายชีวิต

        พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) ขณะคุณแม่เทเรซาไปเยี่ยมสถานสงเคราะห์แห่งหนึ่งในอิตาลี ท่านก็เริ่มป่วยเป็นโรคหัวใจ และมีอาการกำเริบครั้งแรก โดยมีหัวใจเต้นอ่อนเกินไป แต่ปลอดภัย หลังจากนั้น คุณแม่เทเรซาก็ทำงานอยู่เหมือนปกติ แต่อาการโรคหัวใจก็มาเยือนอยู่เรื่อยๆ จนในที่สุด คุณแม่เทเรซา ได้ยื่นจดหมายต่อพระสันตะปาปา ว่า ขอลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าคณะมิชชันนารีแห่งความรักของพระเจ้า พร้อมกับอยากให้มีการเลือกตั้งขึ้นเพื่อเลือกผู้ที่จะมาสืบทอดตำแหน่งจากตน ตอนแรกเหล่าแม่ชีต่างคัดค้าน แต่เมื่อรู้ว่าคุณแม่เทเรซาจะให้จัดการเลือกตั้งผู้สืบทอดตำแหน่ง จึงเทคะแนนเสียงให้คุณแม่เทเรซา แล้วผลการเลือกตั้งก็คือ คุณแม่เทเรซาก็ได้รับเลือกตั้งกลับมาเป็นหัวหน้าคณะฯ อีกครั้ง
การทำงานของท่านก็มีอาการโรคหัวใจกำเริบมารบกวนท่านบ่อยขึ้น อาการป่วยในระดับหนักมากเกิดขึ้นกับแม่ชีเทเรซาอีกใน พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) และอีกครั้งใน พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) หลังจากนั้น คุณแม่เทเรซา ก็ป่วยหนักถึงขนาดล้มหมอนนอนเสื่อ ลุกนั่งไม่ได้ คุณแม่เทเรซาป่วยเป็นโรคหัวใจ และต้องเข้าโรงพยาบาลถึง 2 ครั้ง มิใช่เป็นครั้งแรกที่คุณแม่เทเรซาตรากตรำทำงานหนักจนถึงขั้นหมดเรี่ยวแรง และต้องถูกส่งโรงพยาบาล แม้สมเด็จพระสันตะปาปา ก็ยังทรงขอร้องคุณแม่ให้ดูแลเอาใจใส่สุขภาพของตัวเธอเองบ้าง แพทย์คอยตรวจสอบเธอเป็นระยะ ๆ แล้วยังสั่งให้คุณแม่พักรักษาตัวเป็นเวลา 6 เดือนในวันที่ 16 เมษายน 1990 คุณแม่เทเรซาลาออกจากตำแหน่งคุณแม่มหาธิการิณีของคณะธรรมทูตแห่งเมตตาธรรม เนื่องจากสุขภาพไม่ดี เมื่อผ่อนคลายจากภาระรับผิดชอบต่าง ๆ แล้ว คุณแม่เทเรซาก็สามารถเดินทางไปเยี่ยมบ้านซิสเตอร์ของคณะในที่ต่าง ๆ ได้มากขึ้น

เดือนกันยายน 1990 คุณแม่เทเรซาได้รับการเรียกร้องให้พักจากการเกษียณและได้รับเลือกเป็นมหาธิการิณีของคณะธรรมทูตแห่งเมตตาธรรมอีกครั้ง เนื่องจากบรรดาซิสเตอร์ทราบเป็นอย่างดีถึงอัจฉริยภาพความเป็นผู้นำฝ่ายจิตของคุณแม่เทเรซาในคณะซิสเตอร์ ธรรมทูตแห่งเมตตาธรรม จึงได้เลือกคุณแม่เป็นผู้นำอีกครั้งหนึ่ง แม้ว่าคุณแม่จะมีอายุ 80 ปีและสุขภาพไม่สู้ดีนักก็ตามในปี 1997 คุณแม่เทเรซา ได้ลาออกจากผู้นำคณะ เนื่องจากเจ็บป่วยมาก ในวันที่ 13 มีนาคม ซิสเตอร์นิรุมารา ได้รับเลือกเป็นผู้นำคณะคนใหม่

วันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) คุณแม่เทเรซาได้เสียชีวิตลงที่บ้านของคุณแม่ในอินเดีย ขณะอายุ 87 ปี กับอีก 10 วัน โดยคำพูดคำสุดท้ายที่คุณแม่ได้พูดออกมาคือ "หายใจไม่ออกแล้ว" [6] ทางการอินเดียได้จัดพิธีศพของคุณแม่เทเรซาอย่างยิ่งใหญ่ เป็นงานศพระดับชาติ (งานศพของบุคคลที่ทุ่มเทอุทิศตนเพื่อประเทศนั้นๆ) ของทางการอินเดีย
ในช่วงเวลาที่คุณแม่เสียชีวิต คณะมิชชันนารีแห่งความรักของพระเจ้ามีแม่ชีมากว่า 4,000 คนและอาสาสมัครกว่าอีก 1 แสนคน ซึ่งอัตรานี้ครอบคลุมไปถึงกว่า 610 แห่ง 123 ประเทศทั่วโลก ปัจจุบันร่างของแม่ชีนอนหลับอยู่ที่บ้านคุณแม่ในอินเดีย เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอล ที่ 2 ได้ประกาศให้คุณแม่เป็น นักบุญราศี