ทุ่งดอกทานตะวัน ลพบุรี
ประวัติความเป็นมา
เนื่องจากภาวะแห้งแล้งและราคาข้าวโพดที่ตกต่ำ ทำให้ทานตะวันกลายเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดใหม่เข้ามาทดแทนให้กับเกษตรกรในจังหวัดลพบุรีและสระบุรี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 เป็นต้นมา โดยนอกจากจะทำรายได้ให้กับเกษรตรกรแล้ว ความสวยงามของ ทุ่งดอกทานตะวัน ยังดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเที่ยวชม จนกลายเป็นสถานที่ท่องเวที่มีชื่อเสียงของจังหวัดลพบุรีที่ยวสถานที่ท่องเที่ยว
ข้อมูลทั่วไป
จังหวัดลพบุรีมีการปลูกทานตะวันมากที่สุดในประเทศไทย คือ ประมาณ 200,000 - 300,000 ไร่ แหล่งปลูกทานตะวันกระจายอยู่ทั่วไปในเขตอำเภอเมือง อำเภอพัฒนานิคม อำเภอชัยบาดาล ดอกทานตะวันจะบานสะพรั่งดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาเที่ยวชมกันมากในช่วงเดือนพฤศจิกายน - มกราคม
ทานตะวันเป็นพืชทนแล้งเกษตรกรนิยมปลูกทดแทนข้าวโพด เมล็ดทานตะวันมีสารอาหารที่มีคุณค่า นิยมใช้สกัดทำน้ำมันปรุงอาหาร หรืออบแห้ง เพื่อรับประทาน หรือใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอาง และยังสามารถเลี้ยงผึ้งเป็นอาชีพเสริมได้อีกด้วย จึงทำให้ได้ผลผลิต คือ น้ำผึ้งจากดอกทานตะวันอีกทางหนึ่ง
นักท่องเที่ยวสามารถเยี่ยมชมทุ่งทานตะวันในเส้นทางต่างๆ ถ่ายรูปภาพในทุ่งทานตะวันได้ โดยอาจเสียค่าเยี่ยมชมเล็กน้อย รวมทั้งยังสามารถซื้อของฝาก เช่น ผลิตภัณฑ์จากดอกทานตะวัน น้ำผึ้ง สินค้าทางการเกษตร และสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ นอกจากจะท่องเที่ยวชมดอกทานตะวันแล้ว ยังสามารถเดินทางไปเที่ยวยังเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ต่อได้โดยสะดวกอีกด้วย
ระหว่างเดือนพฤศจิกายน - มกราคม ช่วงเช้าตรู่ถึง 10 โมงเช้า เป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการชมทุ่งดอกทานตะวัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น