ลุ่มน้ำท่าจีนมีพื้นที่รวม 10,878 ตารางกิโลเมตร (6.8 ล้านไร่) ครอบคลุมพื้นที่ จังหวัดชัยนาท จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดนครปฐมและจังหวัดสมุทรสาคร โดยมี แม่น้ำท่าจีนเป็นแม่น้ำสายหลักมีความยาว 325 กิโลเมตร มีขอบเขตเชื่อมต่อกับ ลุ่มน้ำแม่กลองด้านทิศตะวันตกและเชื่อมต่อกับลุ่มน้ำเจ้าพระยาด้านทิศตะวันออก ตามลักษณะชลศาสตร์สามารถแบ่งพื้นลุ่มน้ำออกเป็น 3 พื้นที่ คือ
ลุ่มน้ำท่าจีนตอนบน เริ่มตั้งแต่ปากคลองมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท ลงไปจนถึงประตูน้ำโพธิ์พระยา อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี
ลุ่มน้ำท่าจีนตอนกลางเริ่มตั้งแต่ประตูน้ำโพธิ์พระยา อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ลงมาจนถึงสะพานรวมเมฆ อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม
ลุ่มน้ำท่าจีนตอนล่าง เริ่มตั้งแต่สะพานรวมเมฆ อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ลงไปจนถึงปากแม่น้ำ อำเภอเมืองจังหวัสมุทรสาคร
ความสำคัญของแม่น้ำท่าจีน
ลุ่มน้ำท่าจีนเป็นลุ่มน้ำหลักในที่ราบลุ่มภาคกลางที่มีความสำคัญทาง เศรษฐกิจและสังคมรองจากลุ่มน้ำเจ้าพระยา ในปี พ.ศ. 2550 ลุ่มน้ำท่าจีนมีประชากรรวม 2.48 ล้านคน จำนวนครัวเรือนรวม 841,945 ครัวเรือน มีชุมชน ขนาดใหญ่ในระดับเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำท่าจีนรวม 65 ชุมชน
ในปี พ.ศ. 2549 มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดในพื้นที่ลุ่มน้ำท่าจีน เท่ากับ 491,056 ล้านบาทต่อปี มีมูลค่าผลิตภัณฑ์เฉลี่ยต่อหัวอยู่ระหว่าง 64,619 – 539,346 บาทต่อคนต่อปี โดยจังหวัดสมุทรสาครมีมูลค่าผลิตภัณฑ์เฉลี่ยต่อหัวสูงสุด รองลงมาได้แก่จังหวัดนครปฐม จังหวัดชัยนาทและจังหวัดสุพรรณบุรี ตามลำดับ
ลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ลุ่มน้ำท่าจีนในปี 2549 ร้อยละ 73.9 (5.4 ล้านไร่) ซึ่งร้อยละ 70 ของการใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นพื้นที่เกษตรกรรมโดยทำนาข้าวเป็นส่วนใหญ่ในเขตจังหวัดชัยนาท สุพรรณบุรีและนครปฐมเป็นพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ มีพื้นที่รวม 0.43 ล้านไร่ จังหวัดสุพรรณบุรีและนครปฐมเป็น แหล่งเลี้ยงปลาน้ำจืดและกุ้งก้ามกราม นอกจากนี้จังหวัดนครปฐมยังเป็นแหล่งผลิตสุกรที่สำคัญที่สุดของภาคกลาง สำหรับจังหวัดสมุทรสาครเป็นแหล่งประมงน้ำกร่อยและกุ้งทะเลที่สำคัญ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น